วันนี้จะมาแบ่งปันจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองนะคับ และอ้างอิงตามเอกสารที่มีอยู่ตามเว็บไซต์ทั่วๆ
ไปกันนะคับว่า สิ่งที่เราต้องมี หรือสิ่งที่นักแปลเขามีกันนั้นมีอะไรบ้าง แน่นอนคับ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ
1. Dictionary ไทย-อังกฤษ และ อังกฤษ-ไทย จะเป็นของใคร ค่ายไหนไม่สำคัญคับ ขอให้เราชอบ
และใช้อย่างมีความสุขเท่านั้นพอ หรือถ้าจะให้ดี ก็ลองหาที่เป็นของค่ายดังๆ คนเขียนที่เป็นที่ยอม
รับหน่อยก็ดีคับ ในสมัยนี้ dictionary ออนไลน์ก็มีให้บริการฟรี มากมายกันทีเดียว แม้แต่โปรแกรมแปล
ภาษาของ google เอง ก็ได้รับการพัฒนาในเรื่องของการแปลอย่างมากมาย จนน่าใจหาย
2. ตัวอย่างหนังสือ หรืองานแปล อาจเป็นหนังสือที่นำเสนอในรูปแบบ 2 ภาษาก็ได้ ลองอ่าน และสังเกต การแปลและการเรียบเรียงคำพูด อาจเริ่มจาก นิทานอีสป ก็ได้ เพราะงานประเภทนี้ มีอยู่ทั่วๆไป และ ค่อนข้างหาง่ายและราคาถูก
เรื่องพื้นฐานในการแปล
ในการแปลสิ่งที่คำนึงหลักๆ คือ
1. ความหมาย (Meaning) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เป็นเรื่องของการตีความ ดังนั้นในการแปล
เมื่อแปลไม่ได้ เราต้องทำการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้งานที่ออกมาสมบูรณ์ และถูก
ต้องที่สุด
2. รูปแบบ (Form) งานที่แปลที่ค่อนข้างยากก็คือ กวีและเรื่องขำขัน เพราะจะมีเรื่องความหมาย กับ
รูปแบบก็คือฉันทลักษณ์ที่ต้องทำให้ได้คู่กัน นอกจากนี้รูปแบบของภาษาแต่ละภาษาก็จะแตกต่าง
กันต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม สำหรับมือใหม่ ไม่แนะนำให้แปลบทกวีนะคับ เพราะงานเขียนประเภทนี้ ภาษาที่ใช้มีความหมายที่พิเศษมาก มีการเปรียบเทียบ ในเชิงสัญลักษณ์มากมายเลยทีเดียว
เช่น
The rain is dancing on the roof
สายฝนเต้นรำบนหลังคา
The car coughed and died
รถยนต์อไอและตาย ซึ่งก็คือเครื่องรถยนต์มันดับ นั่นเอง กวีเลือกใช้คำว่า coughed ให้มองเห็นภาพราวกับว่า เรามองดูคนที่กำลังไออย่างหนัก เพื่อให้คนอ่านมองเห็นภาพที่ชัดขึ้นนั่นเอง
เทคนิคการแปล
- อ่านเอกสารทั้งหมดก่อนทำการแปล เพื่อดูภาพรวมของงานและตีความคำ และประโยคที่ปรากฎในบทความนั้น
- การแปล ผู้แปลต้องคิดไปด้วย ต้องมีการทำความเข้าใจเรื่องที่จะแปลให้มากที่สุด
- นอกจากนี้การแปล ผู้แปลต้องรู้ที่มาหรือเบื้องหลังของคำ
- ใช้พจนานุกรมหลายๆ เล่มมาเทียบกัน และพื่อหาคำศัพท์ที่จะใช้ในการแปล
- แปลเสร็จ ควรอ่านใหม่อีกรอบเพื่อให้งานมีความบกพร่องน้อยที่สุด
หลักในการแปล
การแปลเป็นเรื่องของภาษากับวัฒนธรรม หากจะเข้าใจภาษาเราต้องเข้าใจวัฒนธรรม ดังนั้น ถ้าวัฒนธรรมต่างกันมาก การถ่ายทอดทางภาษาก็จะทำได้ยาก บางครั้งอาจจะต้องเข้าใจที่มาของสำนวน วลี ต่างๆ ที่ใช้กัน
หลัการแปล 5 ข้อ
1. ต้องรู้เนื้อหาและเจตนาของผู้เขียน
2. มีความรู้ในภาษาต้นทางดี และมีความรู้ในภาษาที่ถ่ายทอดดีเยี่ยม
3. เลี่ยงการแปลแบบคำต่อคำ
4. ใช้รูปแบบการเขียนที่ใช้กันทั่วไป
5. เลือกใช้น้ำเสียงที่เหมาะสม
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
- ไม่ควรแปลแบบขยายความ ( Elaborate) ควรจะถ่ายทอดความหมายออกมาให้ตรงที่สุด
- ไม่ควรแปลแบบคำต่อคำ ( Word by Word) เพราะการแปลต้องให้ความหมายตรงในวัฒนธรรมใหม่
- จะต้องถอดความต้นฉบับให้ได้มากที่สุด ดังนั้นจะต้องมีความรู้ในการถ่ายทอดที่ดี
- การยอมรับความคลาดเคลื่อน ( Degree of Approximation) ต้องดูว่ามากน้อยเพียงใดเพราะในบาง
ครั้งการแปลคำต่อคำไม่สามารถทำได้
- การให้ความสำคัญกับเรื่องเวลา และการซ้ำคำ การใช้คำผสมที่ทางตะวันตกมักจะไม่ค่อยใช้กัน
- การเลือกใช้คำที่สื่อความแตกต่างทางสถานะหรือเพศ เพราะวัฒนธรรมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
- ความสม่ำเสมอในการใช้คำ ในต้นเรื่องและท้ายเรื่องควรใช้คำๆ เดียวกัน
(ยกเว้นกรณีที่ผู้เขียนตั้งใจใช้ต่างออกไป)
- ให้ความสำคัญกับความกระชับของภาษา
- การทับศัพท์ เรื่องนี้ไม่มีการกำหนดแน่นอนตายตัว อยู่ที่ความเข้าใจของผู้อ่าน
- ชื่อคนและชื่อสถานที่ หากไม่มั่นใจให้ใส่คำโรมันกำกับ
- ควรระบุชื่อลักษณะของสถานที่ให้ชัดเจนในการแปลเพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน เพราะต้นฉบับมัก
จะระบุเพียงชื่อของสถานที่
- ควรอ้างแหล่งที่มาของงานแปลนั้นๆ ด้วย
- ควรให้ความสำคัญกับขนาดตัวอักษรและตัวอักษร เพื่อช่วยการอ่าน
ขอขอบคุณ
http://www.krooboss.com
http://chinatranslate.igetweb.com/articles
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น